วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชาวมหาสารคามรวมพลกว่า 1,000 คนต้านยาเสพติด

มหาสารคาม - ทุกภาคส่วนในจังหวัดมหาสารคามร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในวันต่อต้านยา
เสพติดโลก เพื่อสร้างจิตสำนึกเยาวชน
และประชาชนให้ตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด

ที่บริเณสนามหน้าที่ว่าการำเภอเมืองมหาสารคาม นายทองวี พิมเสน
ผู้ว่าราชกรจังหวัดมหาสารคาม ได้นำข้าราชาร พ่อค้า ประชาชน นักรียน นิสิต
และนักศึษา กว่า 1,000 คน จัดงานรวมพลคนมหาสาราม 5 รั้ว
ล้มไทยต้านภัยยาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
โดยศูนย์ปฏิบัติกาต่อสู่เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัดมหาสารคาม
ได้ร่วมกับทุกภาส่วนร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดี
แสดงพลังประกาศสัจจะต่อต้านยาเสพติด ร่วมกันสาปแช่งผู้ค้ายาเสติด

พร้อมมีมาตรการเข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามาเสพติดในทุกพื้นที่
โดยเฉพาะในสถานศึกษา เพื่อให้ชาวจังหวัดมหาารคามทุกคน
ได้ตระหนักถึงความสำคัญ
ที่จะต้องร่วมกันเฝ้าระวังดูแลป้องกันมิให้ภัยอันตรายของยาเสพติด
เข้ามาทำลายอนาคตของเยาวชน ลูกหลานซึ่งเป็นที่รักยิ่งของเราทุกคน
พร้อมให้น้อมนำแนวคิดหลกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

ภายในงานมีการจัดการแสดง เชียร์ลีดเดอร์
เต้นแอโรบิกโดยชมรมทูบีนัมเบอร์วัน การแสดงของสตันท์แมน
การแข่งขันหัวเราะ การประกวดสมาร์ตแมนแอนด์สมาร์ตเกิร์ล
รวมถึงการจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องยาเสพติด การแสดงดนตรี
และการมอบประกาศนียบัตรให้แก่โรงานสีขาวที่ปลอดยาเพติด

แกนนำหมู่บ้านสารคามกว่า 4 พันคนปกป้องเทิดทูนสถาบัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2552 17:01 น.
มหาสารคาม - จังหวัดมหาสารคาม
จัดอบรมแกนนำหมู่บ้านในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ
โดยมีแกนนำกว่า 4,000 คนในอำเภอโกสุมพิสัย โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 9 รุ่น
เพื่อปกปองเทิดทูนสถาบัน สร้างความสมานฉันท์ในชาติ
พัฒนาประชาธิปไตยให้เดินหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาัลัยราชภัฏมหาสารคาม
นายทอทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
เป็นประธานการอบรมแกนนำหมู่้บ้านในการปกป้องและเิทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ
โดยมีนางคมคาย อุดรพิมพ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายอำเภอ และแกนนำหมู่บ้านจำนวน 4,660 คนเข้าร่วมการอบรม
หวังให้แกนนำเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ลูกบ้านรับทราบ
ไม่ตกเป็นเครื่งมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นำมาซึ่งความสงบ สันติ
และสามัคคีของคนในชาติ

นายทองที พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัมหาสารคาม กล่าวว่า
การอบรมแกนนำหมู่บ้านในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันสำคัญของชาติ
แบ่งการอบรออกเป็น 9 รุ่น กระจายไปยังอำเภอต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยได้รับความบอบช้ำจากปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองค่อนข้างมาก ก่อให้เกิความแตกแยกของคนในสงคม
มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย

แต่ละฝ่ายได้พยายามกล่าวอ้าง จาบจ้วงสถาบันของชาติ
เพื่อหวังให้เกิดความน่าเชื่อถือของกลุ่มตน
จนส่งผลให้หลายกรณีเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ทำให้ประชาชนเกิดความไขว้เขวและตกเป็นครื่องมือของผู้เคลื่อนหวเพื่อจะได้มา
ซึ่งผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มตน
จนลืมไปว่าสิ่งที่กระทำนั้นเป็นสิ่งไม่บังควรอย่างยิ่ง
ประชาชนทุกคนต้องลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องรักษาและเทิดทูนสถาบันสำคัญองชาติ

ประกอบด้วย สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดแถลงนโยบายเร่งด่วนที่สำคัญ 4 ประการ คือ ปกป้อง
เทิดทูน สถาบันสำคัญของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระมหากษัติย์
สร้างความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาิติ
ให้เกิดความสงบและสันติสุข

แก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากทั่วโลก
ให้สามารถผ่านวิกฤตไปได้
และพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้เดินหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เผยผู้ต้องขังเรือนจำมหาสารคามกว่า 50% ต้องโทษคดียาเสพติด

มหาสารคาม - สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในมหาสารคามยังน่าห่วง
จับกุมผู้ต้องหาได้ต่อเนือง เผยกว่าร้อยละ 50
ของผู้ต้องขังที่เรือนจำจังหวัดเป็นผู้ต้องหาคดียาเสพติด
ขณะที่รองผู้การฯ คุมเข้มในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา
ซึ่งถือเป็นนักเสพรุ่นใหม่ที่พร้อมพัฒนาเป็นเครือข่าวผู้ค้ารายย่อย

ที่ห้องประชุมอาคารสารสิน ตำรวจภูธรจังหัดมหาสารคาม
พ.ต.อ.จิตรจรูญ ศรีวนิชย์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม
ได้เรียกประชุมชุดป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสถานีตำรวจภูธรทุกแห่งใน
พื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดพบว่า
เฉพาะในรอบเดือนที่ผ่านมาสามารถจับกุมคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ 66
คดี ผู้ต้องหา 73 คน เป็นของกลางยาบ้ากว่า 1,000 เม็ด

ทั้งนี้ แม้การจับกุมจะเป็นเพียงผู้ค้ารายย่อย
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงของกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ค้าพุ่งเป้าไปหาคือกลุ่มเยาวชน
ที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่พักตามหอพักซึ่งมี กว่า 600 แ่ห่ง
ที่ยากต่อการเข้าไปควบคุมดูแล จึงต้องเข้มงวดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด
โดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พร้อมกันนั้นได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการหอพักให้ช่วยสอดส่องดูแล
คอยแจ้งเบาะแสเยาวชนที่อาจจะมีการมั่วสุมเสพยาเสพติด
ควบคู่ไปกับมาตรการจัดระเบียบสังคม สามารถนำผู้ติดยาเสพติประเภทยาบ้า
และสารระเหยเข้าไปรับการบำบัด รวม 54 ราย ในพื้นที่อำเภอบรบือมากที่สุด
23 ราย

นอกจากนี้ยังพบว่า ที่เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม
ข้อมูลล่าสุดพบว่าจำนวนผู้ต้องหาคดียาเสพติดให้โทษ ที่ต้องกักขัง
ทั้งชายและหญิง รวม 532 ราย หรือคิดเป็นกว่าร้อละ 50
ของจำนวนผู้ต้องขังรวมกับคดีอื่นๆ 976 ราย

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มหาสารคาม เตือนระวังโรคระบบทางเดินหายใจ

มหาสารคาม เตือนระวังโรคระบบทางเดินหายใจ
โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามเตือนประชาชนระวังโรคในระบบ
ทางเดินหายใจในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอากาศร้อน สลับกับฝนตก
ทำให้เด็กและผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศไ
from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เตือนระวังโรคระบบทางเดินหายใจ
โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามเตือนประชาชนระวังโรคในระบบ
ทางเดินหายใจในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงอากาศร้อน สลับกับฝนตก
ทำให้เด็กและผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศไม่ได้
แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม
ชี้แจงว่าปัจจุบันสภาพอากาศของจังหวัดมหาสารคาม
มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรุนแรง บางวันอากาศร้อนอบอ้าว บางวันมีฝนตก
ทำให้เด็กเล็ก และผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศไม่ทัน
เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม
พบผู้ป่วยปอดบวมจากเดือนมกราคม 2552 ถึงปัจจุบัน 23 มิถุนายน 2552 จำนวน
906 คนไม่มีผู้เสียชีวิต ผู้ป่วย 3 ลำดับแรกคืออำเภอเมืองจำนวน 278 ราย
อำเภอแกดำ จำนวน 54 ราย และอำเภอนาดูน จำนวน 53 ราย พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
64 ราย ผู้ป่วย 3 ลำดับแรกคือ อำเภอยางสีสุราช จำนวน 15 ราย
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จำนวน 19 ราย และอำเภอวาปีปทุม จำนวน 18 ราย
อาการแรกเริ่มผู้ป่วยจะครั้นเนื้อ ครั่นตัว ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ
ไอ จาม น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน
จะต้องรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2
เดือน จะมีอาการไม่ดื่มน้ำ ไม่ดื่มนม มีไข้สูง หายใจหอบ ปากเล็บ
มือเท้าเขียว และกระสับกระส่าย
จะต้องรีบพาเด็กพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เด็กจะได้ปลอดภัย
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคามย้ำ การป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ
ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รักษาร่างกายให้อบอุ่น สวมใส่เสื้อผ้าให้พอเหมาะกับสภาพอากาศอาบน้ำอุ่น
รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่มีมีคนแออัด เช่น โรงภาพยนต์
ห้างสรรพสินค้า หรือบนรถโดยสารที่มีผู้โดยสารจำนวนมากๆ
ท่านจะปลอดภัยจากโรค ในระบบทางเดินหายใจ อรณต วัฒนะ ข่าว 23 มิถุนายน
2552

มหาสารคามเตือนระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในช่วงฤดูฝน

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เตือนระวังโรคเลปโตสไปโรซีสในช่วงฤดูฝน
สถานการณ์โรคโรคเลปโตสไปโรซีสน่าห่วงที่จังหวัดมหาสารคามสถานการณ์โรคเลปโต
สไปโรซีล หรือโรคเยี่ยวหนูยังน่าห่วง เนื่องจากมีน้ำขัง
เกษตรกรส่วนใหญ่ทำนา ทำไร่ หาปลา เกี่ยวหญ้า ล่าสุดพบผู้ป่วยแล้วจำนวน 32
ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่าปัจจุบัน
พี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่หาปลา เกี่ยวหญ้า ทำนา ตัดอ้อยและทำไร่มัน
เพื่อป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสที่ถูกต้อง
เกษตรกรจะต้องไม่ลงลุยน้ำขณะมีบาดแผลที่บริเวณฝ่าเท้า
มีการสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันการเกิดบาดแผล
และสวมเสื้อผ้าให้รัดกุมป้องกันการเกิดบาดแผล
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีสจำนวน 32 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
อัตราป่วย 3.18 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วย 3 ลำดับ คือ 1.
อำเภอกันทรวิชัยจำนวน 5 ราย อำเภอวาปีปทุม จำนวน 8 ราย และ
อำเภอกุดรังจำนวน 2 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในวัยทำงาน
ประชาชนจะต้องป้องกันตนเองด้วยการสวมรองเท้าบู้ท สวมใส่เสื้อผ้าให้รัดกุม
เมื่อขึ้นจากน้ำจะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าอาบน้ำทันที
มีภูมิปัญญาชาวบ้านแนะนำให้นำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะกรูด
มะขามเปียก ทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสกับน้ำ โดยเฉพาะง่ามมือ ง่ามเท้า
จะเป็นการลดความรุนแรงของเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีส
เพราะเชื้อโรคเลปโตสไปโรซีสจะอยู่ในภาวะเป็นด่าง
เมื่อถูกกรดจะทำให้เชื้ออ่อนตัวลงได้
อาการเริ่มแรกเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผู้ป่วยครั่นเนื้อ
ครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อบริเวณขา บริเวณน่อง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
และมีไข้สูง หนาวสั่น
หากมีอาการดังกล่าวประชาชนไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องจะได้ปลอดภัยจากโรคเลปโตสไปโรซีส
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามฝากเตือนพี่น้องเกษตรกรจะต้องป้องกัน
ตนเองด้วยการไม่ลงแช่น้ำนาน หรือมีบาดแผลไม่ควรลงน้ำขังโดยเด็ดขาด
จัดบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
มีอาการสงสัยอย่าซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด
จะต้องรีบพบแพทย์เพื่อลดความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีส อรณต วัฒนะ ข่าว
21 มิถุนายน 2552

มหาสารคามเตรียมรับการตรวจเยี่ยมประเมินจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เตรียมรับการตรวจเยี่ยมประเมินจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ
โรงพยาบาลมหาสารคามเตรียมบุคลากรรองรับการประเมินเยี่ยมสำรวจเพื่อต่ออายุ
และประเมินระดับคุณภาพโดยทีม พรพ. (
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล) ระหว่างวันที่ 16 - 17 มิถุนายน
2552 ณ ห้องประชุมตักสิลา โรงพยาบาลมหาสารคาม แพทย์หญิงเสาวลักษณ์
นาคะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม
กล่าวว่าโรงพยาบาลมหาสารคามมีการพัฒนางานคุณภาพมาอย่างต่อเนื่องจนผ่านการ
รับรองมาตรฐานงานงานจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลในปี 2548
ซึ่งจะต้องมีการประเมินซ้ำเพื่อให้การรับรองในปี 2552 โดยทีมประเมิน พรพ.
สนใจจะมาดูงานที่ตึกผู้ป่วยนอก ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้องคลอด
ห้องทันตกรรม ห้องผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยสูติกรรมสามัญ อายุกรรมชาย
ศัลยกรรมชาย เด็กเล็ก การบริหารขยะ น้ำเสีย อาคารสถานที่ ซ่อมบำรุง
ยานพาหนะ จ่ายกลาง ซักฟอก เวชระเบียน เภสัชกรรม
และการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลมหาสารคาม
โดยทุกหน่วยงานมีการเตรียมเนื้อหานำเสนอ 5 นาที ผลงานเด่น
ความภาคภูมิใจทีตอบตัวชี้วัดของงานได้
พร้อมการประเมินตนเองตามบทบาทความรับผิดชอบ ตัวชี้วัด
ตามโครงการกิจกรรมต่างๆ
ด้านกิจกรรมมีการเตรียมความรู้ความเข้าใจของบุคลลากรในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ
และด้านกิจกรรมมีกิจกรรมเด่นแสดงให้อาจารย์ได้เห็นเชิงประจักษ์
การตรวจเยี่ยมมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่ พรพ. กำหนด
ซึ่งคะแนนที่ได้จากการนำเสนอ เอกสาร และการตอบคำถามตามเกณฑ์ที่ระบุไว้
สำหรับการตรวจประเมินรับรองครั้งนี้
โรงพยาบาลมหาสารคามมีความพร้อมทั้งด้านบุคลลากร ข้อมูล อาคาร สถานที่
กิจกรรม ที่มุงมั่นพัฒนาให้เกิดการทำงานเป็นทีม
เกิดความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนที่มารับบริการ
และขอเป็นกำลังให้ทุกกลุ่มงานทำงานด้วยความ " มุ่งงาน เชี่ยวชาญ บริการดี
เป็นทีม เป็นธรรม พอเพียง " อรณต วัฒนะ ข่าว / พิมพ์ 16 มิถุนายน 52

มหาสารคามเป็นจังหวัดนำร่องในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพสู่ชุมชน

าสารคามเป็นจังหวัดนำร่องในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพสู่ชุมชน
from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เป็นจังหวัดนำร่องในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพสู่ชุมชน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามร่วมกับโรงพยาบาลมหาสารคาม
ได้พัฒนาระบบคุณภาพบริการมาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการสะดวก รวดเร็ว ประทับใจ
และได้รับบริการที่มีมาตรฐานโดยเฉพาะในด้านสุขภาพที่สามารถดูแลตนเองได้
แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคามได้รับงบประมาณจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพในโรงพยาบาลมหาสารคาม
ในปี 2551 และในปี 2552
มีการขยายผลสู่สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งในพื้นที่อำเภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากกองสุขศึกษา
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
เดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในโครงการจังหวัดคุณภาพต้นแบบในปี 2552
จำนวน 21 แห่ง โดยมีคณะกรรมผู้รับผิดชอบงานสุขศึกษาของศูนย์สุขภาพชุมชน
จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขจะออกนิเทศการดำเนินงานพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพของของ
ชุมชนจำนวน 21 แห่ง ระหว่างวันที่ 22 - 26 มิถุนายน
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคามขอความร่วมมือสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งให้
มีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพบริการถือเป็นนโยบาย
เร่งด่วนที่ต้องพัฒนาหาส่วนขาด
นำส่วนที่เป็นปัญหามาจัดทำแผนยกระดับเพื่อที่จะพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพให้
สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับได้มาตรฐาน
เกิดความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการมากที่สุด อรณต วัฒนะ ข่าว / พิมพ์ 15
มิถุนายน 52

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไข้เลือดออกน่าห่วง ไม่ถึงเดือนชาวมหาสารคามป่วยแล้ว 70 ราย

มหาสารคาม - สถานการณ์แพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออกน่าเป็นห่วง
ไม่ถึงเดือนพบผู้ป่วยเพิ่มกว่า 70 ราย แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งฉีดยากำจัดลูกน้ำยุงลาย ควบคุมพื้นที่การระบาด


จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมีฝนเริ่มตกตั้งแต่ต้นปี
และทิ้งช่วงในระยะนี้
ส่งผลให้ยุงลายอันเป็นพาหะเชื้อไข้เลือดออกเข้าสู่คน
วางไข่และแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
ล่าสุดพบผู้ป่วยเฉพาะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามแล้ว 76
ราย พบมากที่สุดพื้นที่อำเภอเมือง 34 ราย พยัคฆภูมิพิสัยจำนวน 16 ราย
และอำเภอนาเชือกจำนวน 5 ราย แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่พบจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
ซึม หน้าแดง ตัวแดง และปวดท้องรุนแรง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
จึงให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขออกฉีดพ่นสารกำจัดตัวแก่
ยุงลาย ทั้งในบริเวณบ้าน และรอบบ้าน เพื่อควบคุมพื้นที่การระบาด

พร้อมฝากเตือนผู้ปกครองให้ดูแลบุตรหลานหากมีอาการดังกล่าวให้รีบนำ
บุตรหลานไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ก่อนอื่นให้ดื่มน้ำมากๆ
เช็ดตัวเพื่อให้ไข้ลด และรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
ปัจจุบันเด็กและผู้ใหญ่สามารถป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้
ฉะนั้นจะต้องให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
ซึ่งเป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาดของโรคต่อไป

วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชาวมหาสารคามหวั่นติดหวัด 2009 แห่ตรวจสุขภาพแน่นโรงพยาบาล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2552 11:27 น.
มหาสารคาม - ประชาชนชาวจ.มหาสารคาม
หวั่นติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
แห่ตรวจสุขภาพแน่นโรงพยาบาลมหาสารคาม เผยต้องรับผู้ป่วยเพิ่มวันละกว่า
200 คน แนะเลี่ยงสถานที่แออัด หากป่วยมีไข้สูง ตัวร้อน อาเจียน
ควรรีบพบแพทย์

ภายหลังข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ระบาดในประเทศไทย เพิ่มจำนวนผู้ผู้ติดเชื้อทั่วประทศรวดเร็ว มากกว่า 400
คน แม้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว
แต่ก็ส่งผลให้ประชาชนตื่นตัวกับโรคดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะที่จังหวัดมหาสารคาม
ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัวกับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
สูงมาก

ประชาชนจำนวนมาก
ต่างเข้าไปใช้บริการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลมหาสารคาม
โดยแต่ละวันโรงพยาบาลมหาสารคาม ต้องรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นวันละกว่า 200 ราย
ประกอบกับช่วงนี้สภาพอากาศแปรปรวน ตอนกลางวันร้อนจัด ช่วงเย็นกลับฝนตก
ส่งผลให้เด็กเล็ก และคนชราเจ็บป่วยเพิ่มสูงขึ้น

เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาสารคาม
ได้ให้คำแนะนำการสังเกตโรคไข้หวดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้ความรู้
แจกหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือให้แก่ผู้ป่วยและญาติ
ทั้งให้หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์
ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค หากไม่สบายควรอยู่บ้าน
เพื่อลดการกระจายเชื้อโรค และหากผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ตัวร้อน อาเจียน
ให้รีบมาพบแพทย์ ตรวจรักษาทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

ย้ำเงินกู้ 4 แสนล้านรัฐต้องบริหารโปร่งใสเพราะเป็นหนี้สาธารณะ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2552 11:27 น.
มหาสารคาม - นักวิชาการ-พ่อค้าภูธรให้ความเห็นหลังสภาผ่านร่าง
พรก.เงินกู้4แสนล้านรัฐบาลต้องบริหารเม็ดเงินไม่รั่วไหล
บริหารเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ย้ำเงินกู้ 4 แสนล้าน
เป็นภาระหนี้ที่ประชาชนต้องร่วมรับผิดชอบเพราะเป็นหนี้สาธารณะ

หลังจากที่สภาโหวตเห็นชอบ พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้าน ด้วยคะแนน 248
ต่อ 128 เสียง งดออกเสียง 3 และไม่ลงคะแนน 17 เสียง
มีเสียงสะท้อนจากนักวิชาการ
และประธานหอการค้าถึงการบริหารนโยบายด้านเงินของรัฐบาล

ดร.สุทธิพงษ์ หกสุวรรณ
นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาชื่อดังในจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า
ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน การลงทุนชะลอตัว
เม็ดเงินที่จะลงไปในระบบเศรษฐกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
หากต้องการเห็นเศรษฐกิจของชาติฟื้นขึ้นมาจำเป็นต้องให้เม็ดเงินเหล่านี้
เข้ามาในระบบ ซึ่งรัฐบาลต้องมีความโปร่งใส ไม่มีการคอร์รัปชั่น
เม็ดเงินไม่รั่วไหล บริหารเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเงินกู้ 4
แสนล้านถือเป็นหนี้ที่ประชาชนต้องร่วมกันใช้ ถือเป็นหนี้สาธารณะ

ทั้งนี้ หากกู้มาแล้วสามารถทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดก็ถือว่าเป็นเรื่องดี
ซึ่งหลายฝ่ายกำลังจับตามองรัฐบาลอยู่
รัฐบาลต้องบริหารให้เกิดประโยชน์และโปร่งใสมากที่สุด
หากไม่มีเงินกู้ก้อนนี้เชื่อว่าประเทศไทยก็ไปไม่รอด

ด้าน นายสุทิน พรมงคลชัย ประธานหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า
เงินกู้สี่แสนล้านบาทที่รัฐบาลจะกู้เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
รัฐบาลควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะภาคการเมือง
ซึ่งรัฐบาลกำลังถูกจับตามองอยู่ ส่วนการใช้จ่ายอย่างต้องเป็นไปโปร่งใส
และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีระบบตรวจสอบที่เข้มงวด

ขณะเดียวกัน
รัฐบาลควรกำหนดมาตรการและนำเงินกู้ไปแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรที่มีปัญหา
ด้านราคา โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และผลไม้ที่ราคาตกต่ำ

คณะแพทย์ ม.มหาสารคาม รับน้องสร้างสรรค์ช่วยชาวบ้านดำนา

วันนี้ (15มิ.ย.) ที่แปลงนาเกษตรกร บ้านขามเรียง อ.กันทรวิชัย
จ.มหาสารคาม นักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จัดกิจกรรมรับน้องใหม่ ประจำปี 2552 โดยพารุ่นน้องนิสิตแพทย์ปี 1
มาร่วมลงแขกดำนา หนึ่งในกิจกรรมรับน้องใหม่ของนิสิตคณะแพทยศาสตร์
ได้จัดกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านที่อยู่รอบรั้วมหาวิทยาลัยฯ
ภายใต้แนวคิดการฝากตัวเป็น "ลูกฮัก เสมือนลูกในบ้าน ว่านในสวน"
อันเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับ
ชุมชน
โดยนิสิตแพทยศาสตร์ปี 1
ต่างตื่นเต้นกับการได้ลงแขกดำนาเป็นครั้งแรก นักศึกษาแต่ละคน
ตั้งอกตั้งใจช่วยกันมุ่งมั่นดำนากันอย่างเต็มที่
ทั้งนี้การลงแขกดำนานอกจากเป็นหนึ่งในกิจกรรมรับน้องใหม่แล้ว
ยังเป็นการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอีสาน แสดงถึงความมีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกัน

ชาวท่าขอนยางชุมนุมไล่ปลัด ทต.ทั้งขี้เกียจเมินบริการเป็นบ่างช่างยุ

มหาสารคาม - ชาวบ้านกว่า 200 คนรวมตัวขับไล่ปลัดเทศบาลตำบลท่าขอนยาง
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ สร้างความแตกแยกในเทศบาล
ไม่อำนวยความสะดวกบริการประชาชน

ที่เทศบาลตำบลท่าขอนยาง อ.กันรวิชัย จ.มหาสารคาม
ชาวบ้านตำลท่าขอนยางจำนวน 19 หมู่บ้าน ประมาณ 200 คน นำโดยนายทอใส บญโฮง
ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายศุภชัย บุตรราช นายกเทศบาลตำบลท่าขอนยาง

กรณีที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของว่า
ที่้ร้อยตรีอำนาจ สมน้อย ปลัดเทศบาลตำบลท่าขอนยาง
ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมในชุมชน ไม่สนับสนุนกิจกรรมชุมชน
สร้างความแตกแยกในเทศบาล แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ข่มขู่ลูกน้อง
ใช้วาจาไม่สุภาพกับประชาชนที่มาขอรับบริการที่เทศบาล
และไม่อำนวยคามสะดวกในการมาติดต่อราชการ เช่น
การขอรับแบบแปลนการก่อสร้างกว่าจะได้ยากมากใช้เวลานาน

อีกทั้งตั้งแต่มารับตำแหน่งปฏิบติงานมาได้ 8 เดือน
ไม่มีผลงานอะไรให้กับประชาชนชาวตำบลท่าขอนยาง ชาวบ้านจึงอยากให้ทาง
เทศาลตำบลท่าขอนยางสอบสวนพฤติกรรมการปฏิบัิติงาน
และให้ย้ายออกนอกพื้นที่โดยเร็วที่สุด

จากนั้นตัวแทนชาวบ้านได้เข้าประชุมกันที่ห้องประชุมชั้น 2
ของเทศบาล โดยมีนายเมธี สุพรรณฝ่าย นายอำเภอกันทรวิชัย เป็นประธาน
เพื่อหาข้อสรุป ซึ่งได้ข้อสรุปว่าทางเทศบาลฯ
จะตั้งคณะกรรมการสอบสวนพติกรรมของปลัดเทศบาล ว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร
และจะได้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการต่อไป

โรงพยาบาลมหาสารคามพร้อมรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

มหาสารคาม - โรงพยาบาลมหาสารคามหวั่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ระบาด วางมาตรการป้องกัน เตรียมพร้อมรับมือ
เบื้องต้นให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติให้เฝ้าระวังป้องกัน
ทั้งแจกหน้ากากอนามัยสกัดการระบาด ชี้เตรียมห้องแยก อุปกรณ์
และบุคลากรดูแลเป็นกรณีพิเศษ

แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม
เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิด A
(H1N1) อย่างต่อเนื่องโดยองค์กรอนามัยโลกได้ประกาศเป็นโรคติดต่อรุนแรง
ขณะนี้มีจำนวนผู้ได้รับเชื้อทั่วโลกกว่า 20,000 ราย
ทั้งยังพบการระบาดในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 100 ราย

โรงพยาบาลมหาสารคามตระหนักในความรุนแรงของเชื้อดังกล่าว
ที่อาจจะแพร่ระบาดถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามได้
จึงได้รณรงค์ด้านการเฝ้าระวัง มีการประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการ
ให้ความรู้ให้กับผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการ
พร้อมกับแจกหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อให้กับประชาชนที่มาใช้บริการ
มีการคัดกรองคนไข้เพื่อความไม่ประมาท ประชาชนจะต้องล้างมือให้สะอาด
ใช้ช้อนกลาง รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆด้วยความร้อน

ที่สำคัญหากพบว่าผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ไอ หอบ อ่อนเพลีย
และมีประวัติเคยเดินทางมาจากต่างประเทศภายใน 5 วัน ไม่ควรนิ่งนอนใจ
รีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที

สำหรับแผนการให้บริการผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โรงพยาบาลมหาสารคาม
มีการเตรียมความพร้อม โดยได้จัดห้องแยกโรค เวชภัณฑ์ ยา บุคลากร
และระบบส่งต่อ มีการซ้อมแผนภาคสนาม
กรณีการเกิดระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1)
เพื่อบริการผู้ป่วยให้ปลอดภัยสูงสุด

"ฝากขอความร่วมมือประชาชนทุกคน
ร่วมกันป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A
(H1N1) ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์
พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีอาการสงสัยรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง"

ยันโครงการประกันราคาข้าวชาวนาได้ประโยชน์ รัฐประหยัดงบ

มหาสารคาม-ผอ.ธ.ก.ส.มหาสารคาม ชี้โครงการประกันราคาข้าวเปลือก
เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด ส่วนรัฐบาลเสียงบประมาณน้อยกว่ารับจำนำข้าว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อหามาตรการป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น


นายณรงค์ งามพริ้ง
ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรแะสหกรณ์การเกษตรจังหวัดมหาสารคาม
กล่าวว่า โครงการประกันราคาข้าวหอมมะลิ นำร่องใน 8 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดสุรินทร์ บุีรัมย์ มหาสารคาม ยโสธร อุบลราชธานี อุดรธนี
นครราชสีมา และร้ยเอ็ด ในเป้าหมายปริมาณ 2 แสนตัน
ซึ่งในช่วงแรกเป็นการวางแนวทางร่วมกัน ทั้งสมาคมโรสีข้าว ธ.ก.ส.
และตัวแทนรัฐบาล
โดยให้เกษตรกรมาึ้ขึ้นทะเบียนเพื่อขอเ้ข้าร่วมโครงการประกันราคา

ในช่วงเวลาดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะคำนวณต้นทุนการผลิต
เช่น ค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่าที่ดิน
และผลกำไรที่ควรได้รับว่าเกษตรกรควรได้รับเท่าไหร่
ตรงนี้คือผลประโยชน์ต่อเกษตรกรโดยตรง

ยกตัวอย่าเช่น
รัฐบาลประกันราคาข้วเปลือกช่วงเดือนธันวาคมไว้ที่ราคาตันละ 14,000 บาท
ซึ่งในช่วงเวลานั้นหากเกษตรกรนำข้าวไปขายให้โรงสีได้ราคาตันละ 13,000 บาท
ส่วนต่าง 1,000 บาท
รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายให้เกษตรกรที่เ้ข้าร่วมโครงการประกันราคาข้าว
แต่หากในช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรนำข้าวไปขายได้มากกว่าตันละ 14,000 บาท
ส่วนที่เกินเกษตรกรก็จะได้รับไป

เพราะฉะนั้น ผลประโยชน์โดยตรงจะเกิดกับเกษตรกร
แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือ
เรื่องความโปร่งใสของราคารับซื้อและการกำหนดราคาประกันนั้น
ทางหน่วยงานเกี่ยวข้องจะร่วมกันดูแลไม่ให้เกิดการทุจรตหรือฮั้วกันระหว่า
ฝ่ายต่างๆ ซึ่งจะต้องหามาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้การทุจจิตเกิดขึ้น
หรือการรับซื้อไม่เป็นไปตามกลไกตลาด

นอกจากเกษตรกรจะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการนี้แล้ว
รัฐบาลก็จะเสียงบประมาณน้อยกว่าการรับจำำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมาอีกด้วย
เนื่องจากการรับจำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมารัฐบาลตั้งราคาไว้สูงกว่าราคาท้อง
ตลาด แต่เื่มื่อถึงเวลาขายให้โรงสีประมูลไปต่ำกว่าราคาจำนำทำให้รัฐบาลเีสียง
บประมาณค่อนข้างสูง

แพทย์-พยาบาล รพ.มหาสารคาม ฉีดวัคซีนป้องกันหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2552 17:44 น.
มหาสารคาม- แม้ว่าไข้หวัดใหญ่ 2009
จะไม่แพร่ระบาดที่จังหวัดมหาสารคาม แ่ต่เพื่อความไม่ประมาท
โรงพยาบาลมหาสารคาม แจกหน้ากาก และหยอดเจลล้างมือให้แก่ผู้ป่วย
พร้อมฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้แก่กล่มแพทย์ พยาบาล
และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เนื่องจากต้องทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย
เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

ที่โรงพยาบาลมหสารคาม หลังจากที่มีองค์การอนามัยโลก (WHO)
เพิ่มระดับความุนแรงของโรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ เป็นระดับ 6
ซึ่งถือเป็นการระบาดทั่วโลก และยังมีการพบผู้ติดเชื้อที่กรุงเทพฯ พัทยา
และอีกหลายจังหวัด มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้วกว่า 80 ราย
ส่งผลให้ประชาชนในจังหวัดมหาสารคามกลับมาตื่นตระหนกอีกครั้ง
กับการแพร่ระบาดครั้งใหม่

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบการแพร่ระบาดในจังหวัดมหาสารคาม
แต่โรงพยาบาลมหาสารคามก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งได้มีการแจกหน้ากากอนามัย
ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม พร้อมทั้งหยอดเจลล้างมือให้แก่ผู้ป่วย
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค พร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันโรค
ด้วยการกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ล้างมือบ่อยๆ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ยังมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้แก่แพทย์
พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วย
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มหาสารคามเตือนมหันตภัยเงียบของโรควัณโรค

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เตือนมหันตภัยเงียบของโรควัณโรค โรงพยาบาลมหาสารคาม
เตือนประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้ระมัดระวัง
มหันตภัยเงียบของโรควัณโรค ที่มีการระบาดมากขึ้น
มีเหตุมาจากการป่วยเป็นโรคเอดส์ และภูมิคุ้มกันบกพร่อง
และมีแนวโน้มเกิดขึ้นในผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น แพทย์หญิงเสาวลักษณ์
นาคะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม
กล่าวว่าวัณโรคเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
องค์การอนามัยโลกกำหนดคำขวัญการรณรงค์ใน ปี2552 ว่า " รวมพลังเร่งรัด
หยุดยั้งวัณโรค " ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยวัณโรคปอดปีละ 3 หมื่นถึง 4
หมื่นรายต่อปี จัดว่าอยู่ในลำดับที่ 19 ของโลกจาก 22
ประเทศที่มีปัญหาวัณโรค
ส่วนใหญ่ในประเทศไทยพบปัญหาคือการค้นพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ต่ำกว่าเป้าหมาย
ขององค์กรอนามัยโลกกำหนด และอัตราการรักษาด้วยยาไม่ต่อเนื่อง
จึงทำให้เกิดอาการดื้อยา ทำให้รักษาโรคไม่หาย และในปี 2550
กรมควบคุมโรคได้จัดโครงการน้ำพระทัยขจัดภัยวัณโรค
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนม์ 8
พรรษา และเป็นการขจัดภัยร้าย ของวัณโรคไม่ให้เป็นปัญหาสาธารณสุข
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามย้ำอาการแรกของผู้ป่วยวัณโรคคือ
ไอเรื้อรังเกิน 3 เดือนมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร
น้ำหนักตัวลด และเคยมีประวัติการสูบบุหรี่ การทำงานเกี่ยวกับฝุ่นละเอียด
เช่น พนักงานปัดกวาดถนน การทำงานโรงสีข้าว โรงงานมันสับปะหลัง
โรงงานแปรรูปไม้ และโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ หรือเป็นผุ้ป่วยเอดส์
ดังนั้นควรมีการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างน้อยปีละ 1
ครั้งเน้นการเอ็กซเรย์ปอดเพื่อเป็นการคัดและเฝ้าระวังโรควัณโรคก่อนที่จะ
เกิดโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ อรณต วัฒนะ ข่าว / พิมพ์ 12 มิถุนายน 2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ย้ำรัฐใช้เงินกู้ 4 แสนล้านอย่างโปร่งใส ประเดิมแก้ปัญหาราคาผลผลิตภาคการเกษตร

มหาสารคาม - ประธานหอการค้ามหาสารคาม แนะภาครัฐนำเงินกู้ 4
แสนล้านแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะราคาผลิตผลการเกษตร
สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการลงทุน และมีการตรวจสอบที่เข้มงวด
ขณะที่ไตรมาส 2 สภาวะศรษฐกิจในพื้นที่กระเตื้องขึ้น
เพราะอยู่ในช่วงเปิดเทอม

นายสุทิน พรมงคลชัย ประธานหอการค้าจังวัดมหาสารคาม กล่าวว่าเงิน 4
แสนล้านบาทที่รัฐบาลจะกู้เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น
ขั้นแรกรัฐบาลควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่ายโดยเฉพาะภาค
การเมืองที่ยังแบ่งเป็นกลุ่มและขั้วอำนาจ
ส่วนการใช้จ่ายต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยมีระบบตรวจสอบที่เข้มงวด

ขณะเดียวกัน
รัฐบาลควรกำหนดมาตรการและนำเงินกู้ไปแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรที่มีปัญหา
ด้านราคา โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และไม้ผลที่มีปัญหาด้านราคา
ซึ่งมาตรการที่ใช้ไม่ควรให้ตกไปอยู่ในกลุ่ม
ผลประโยชน์ของกลุ่มเครือข่ายนักการเมืองและพ่อค้า
แต่ควรให้ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ควรจัดให้มีโครงการลงทุนจากภาครัฐ
เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหากปล่อยให้นักธุรกิจคิดลงทุนฝ่ายเดียวจะเป็นไปได้
ยากและช้า

ส่วนภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดมหาสารคามในช่วงไตรมาส 2 ดีขึ้น
หลังจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งเริ่มเปิดเรียนมีนักศึกษาเข้าเรียน กว่า
60,000 คน ทำให้ธุรกิจหอพัก ร้านอาหาร และสินค้าอื่นๆมียอดขายสูงขึ้น
และระยะนี้อยู่ในช่วงฤดูกาลทำ เกษตรกรมีการหาซื้อของใช้ในด้านการเกษตร
เช่น รถไถ ปุ๋ยเคมี อุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้ในการทำนา
ทำให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
เชื่อว่าในไตรมาสต่อไปเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศน่าจะดีขึ้น

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พิลึก! สพท.เขต 3 มหาสารคามสั่งสอบครูให้ข่าว ร.ร.หนองเดิ่นขาดแคลนโต๊ะ-เก้าอี้

มหาสารคาม - ชาวบ้านรวมตัวเรียกร้อง สพท.มค.เขต 3
กรณีตั้งกรรมการสอบสวนครู หลังให้ข่าวสื่อมวลชนกรณีโรงเรียนขาดแคลนโต๊ะ
เก้าอี้ ที่ใช้ในการเรียนการสอน
ชาวบ้านติดใจคำพูดคณะกรรมการสอบสวนถามครูเอาสมองส่วนไหนคิดที่ไปให้สัมภาษณ์
ผู้สื่อข่าวในเรื่องไม่ดี ทำให้เขตพื้นทีเสียหาย

เื่มื่อเวลา 10.30 น.วันนี้ (9 มิ.ย.)
ได้มีชาวบ้านและตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนจากโรงเรียนบ้านหนองเดิ่น ต.นาทอง
อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม กว่า 50 คน นำโดย นายถวิล สีทอนสุด
กรรมการหมู่บ้านและกรรมการสถานศึกษาโรงรียนบ้านหนองเดิ่น
เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(สพ.) มหาสารคาม เขต 3 อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

กรณีที่ครูและกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองเดิ่น
ถูกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) มหาสารคาม เขต 3 อ.โกสุมพิสัย
ตั้งกรรมการสอบสวน
หลังจากออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชนกรณีโรงเรียนบ้านหนอเดิ่น ขาดแคลนโต๊ะ
เ้ก้าอี้ และอุปกรณ์การเรียนการสอน

นายถวิล สีทอนสุด กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองเดิ่น กล่าวว่า
การที่คณะครูและกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชน ว่า
โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณจัดซื้อโต๊ะเก้าอี้ และอุปกรณ์การเรียนการสอน
เพราะสงสารเด็กและลูกหลานที่เรียนตามมีตามเกิด
ก็เพื่อหวังว่าอาจมีผู้มีจิตศรัทธา
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือบ้าง

เพราะสงสารลูกหลานที่เรียนตามมีตามเกิด
ไม่มีโ๊ต๊ะเก้าอี้นั่งเรียนหมือนโรงเรียนอื่น เด็กๆ ไม่มีสมาธิเรียน
ซึ่งไม่ได้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง แต่กลับถูกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(สพท.) มหาสารคาม เต 3 อ.โกสุมพิสัย
สั่งตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิดกับคณะครูโรงเรียนบ้านหนองดิ่นทุกคน

จึงอยากมาเรียกร้องขอความเป็นธรรม การที่ครูให้ข่าวออกไปแบบนั้น
ผิดกฎระเบียบข้อไหน ทำไมต้องมาตั้งคณะกรมการสอบสวนด้วย
อีกทั้งตอนลงพื้นที่ไปดูสภาพโรงเรียน ได้มีเจ้าหน้าที่บางคนพูดจาไม่สุภาพ
ถามครูผู้สอนว่าเอาสมองส่วนไหนคิดที่ไปให้ข่าวกับผู้สื่อข่าวแบบนั้น
ทำให้เขตพื้นที่การศึกษาได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง

ทั้ง ที่ข้อมูลที่ครูผู้สอนได้ให้ผูื้่สื่อข่าวไปนั้น
ล้วนแต่เป็นข้อมูลจริง และไม่ได้มีเจตนาอื่นแอบแฝง
เพียงแต่อยากให้ลูกหลานไดี้มีอุปกรณ์การเรียนเหมือนโรงเรียนอื่นเท่านั้น

ด้าน นายชัยณงค์ แหงคำ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(สพท.) มหาสารคาม เขต 3 อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม กล่าวว่า
กรณีัดังกล่าวน่าจะเป็นเรื่องเข้าผิดหรือสื่อความหมายไม่ถูกต้อง
การที่สั่งตั้งกรรมการสอบสวนคณะครูโรงเรียนบ้านหนองเดิ่นนั้น
ไม่ใช่จะเอาผิดกับครู
แต่เป็นการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่าโรงเรียนต้องการหรือขาดเหลืออะไร
เพราะทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) มหาสารคาม เขต 3
อ.โกสุมพิัสัย ก็มีแผนจะพัฒนาโรงเรียนขนาดล็กให้มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน

ยืน ยันว่า เราไม่ได้ทอดทิ้งแต่อย่างใด
เพียงแต่ลงไปตรวจสอบเพื่อรับทราบสภาพปัญหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
เท่านั้น ซึ่งจะได้เรียกประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่เขต 3
เพื่อหารือในการจัดการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันต่อไป ส่วนข้อเรียกร้องอื่นๆ
ทีื่่ยื่นมาจะได้นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาต่อไป

ชาวนามหาสารคามจำนำข้าวนาปรังแล้วกว่า2หมื่นตัน ธ.ก.ส.ขอเพิ่มโควต้าอีกกว่า2หมื่นตัน

มหาสารคาม - ธ.ก.ส.มหาสารคาม
จ่ายสินเชื่อตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังแล้วกว่า 250 ล้านบาท
มีเกษตรกรนำข้าวเข้าร่วมโครงการกว่า 20,000 ตัน
เตรียมขอโควตาเพิ่มอีกกว่า 30,000 ตัน
รองรับเกษตรกรที่จะนำข้าวเปลือกมาจำนำ

นายณรงค์ งามพริ้ง
ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดมหาสารคาม
กล่าวว่า ตามที่จังหวัดมหาสารคามได้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง
ซึ่งปีนี้เป็นปีแรก เกษตรกรตื่นตัวมาก
ซึ่งที่ผ่านมาราคาข้าวเปลือกในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ตันละ
7,000-8,000 บาท ซึ่งเมื่อมีโครงการจำนำข้าวราคาอยู่ที่ตันละ 11,800 บาท
ทำให้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก

ล่าสุดมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 21,000 ตัน ซึ่งทาง
ธ.ก.ส.ได้จ่ายสินเชื่อไปแล้วกว่า 250 ล้านบาท

จากการที่รัฐบาลมีมติให้เพิ่มโควตาการจำนำข้าวอีก 2 ล้านตัน
ในส่วนของจังหวัดมหาสารคามได้ขอโควตาไปอีก 38,000 ตัน
ส่งผลให้เกษตรกรที่ยังมีข้าวเปลือกอยู่ในมือ ที่ยังไม่ได้ขายให้กับโรงสี
มีโอกาสนำข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการ
อยากให้เกษตรกรรีบเข้ามาติดต่อกับทางธนาคารฯ

ทั้งนี้ทั้งนั้น
ข้าวเปลือกที่นำมาเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นข้าวเปลือกของเกษตรกรเอง
ห้ามนำข้าวเปลือกของบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนฝูง
หรือนายทุนมาสวมสิทธิ์เด็ดขาด หากจับได้จะต้องถูกดำเนินคดีทางอาญา
และถือเป็นคดีร้ายแรงด้วย

นอก จากนี้
ในช่วงเริ่มต้นของการเปิดรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังได้มีปัญหาในเรื่องของ
จำนวนเกษตรกรที่มาแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าว
ไม่ตรงกับปริมาณข้าวเปลือกนั้น
ขณะนี้อยู่ในระหว่างคณะกรรมการอำเภอกำลังตรวจสอบหาข้อเท็จจริงอยู่
ซึ่งผลเป็นอย่างไรจะได้แจ้งให้ทราบต่อไป

พ่นยากำจัดลูกน้ำยุงลายทั่ว ว.พยาบาลศรีมหาสารคาม หลังต้องสงสัย 2 นศ.ติดเชื้อชิคุนกุนยา

มหาสารคาม - เทศบาลเมืองมหาสารคาม ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ที่วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม หลังจากมีข่าว 2
นักศึกษาต้องสงสัยป่วยโรคชิคุนกุนยา

รายงานข่าวแจ้งว่า เทศบาลเมืองมหาสารคาม
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำ ยุงลายที่วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
หลังจากที่มีข่าว 2 นักศึกษาเฝ้าระวังป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา
หลังเดินทางมาจากภูมิลำเนาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อมาศึกษาต่อ

ซึ่งทางวิทยาลัยไดมีการซักถามประวัตย้อนหลัง คัดกรองผู้ป่วย
และตรวจร่างกายนักศึกษา
อีกทั้งยังให้เทศบาลเมืองมหาสารคามมาฉีดพ่นสารเคมีบริเวณโดยรอบวิทยาลัย
อาคารเรียน ห้องเรียน หอประชุม ห้องทำงานครูอาจารย์ และหอพักนักศึกษา
เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้ 2
นักศึกษาได้ออกจากโรงพยาบาลกลับมาเรียนต่อได้แล้ว

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มหาสารคามเตือนประชาชนระวังโรคชิคุนกุนยา

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เตือนประชาชนระวังโรคชิคุนกุนยา
โรงพยาบาลมหาสารคามเตือนประชาชนที่ไปทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระวังโรคชิคุนกุนยาที่ระบาดหนักสาเหตุเกิดจากยุงลายมีเชื้อกัดคนทำให้เกิด
อาการมีไข้สูง แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า
โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนเรา
มักพบการระบาดในฤดูฝนส่วนใหญ่เกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงฉับพลัน ซึม มีผื่นแดง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา
มีเลือดออกตามผิวหนัง
เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่แต่อาการในผู้ใหญ่จะรุนแรงกว่าเด็ก
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและรักษาได้
สำหรับการป้องกันโรคชิคุนกุนยาคือการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการปิด
ฝาภาชนะภายในบ้านให้เรียบร้อย จัดสภาพแวดล้อมบ้านเรือนให้สะอาด
ใส่ทรายอะเบททรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำยุงลาย กางมุ้งให้เด็กตัวเล็ก
ไม่ให้เด็กเล่นในที่มืด ในขณะเด็กดูทีวีจะต้องจุดยากันยุง เปิดพัดลมให้
กำจัดลูกน้ำในแหล่งน้ำ เช่น อ่างน้ำ แจกัน ขารองตู้กับข้าว
คว่ำภาชนะที่มีน้ำขังหรือเศษวัสดุที่น้ำขังได้
รวมทั้งการฉีดพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
หากมีอาการไข้สูง ซึม อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้นตามตัว
ขณะนี้มีผู้ป่วยเกิดมากขึ้น
หากมีอาการสงสัยให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม
เตือนประชาชนที่ไปทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ระมัดระวังดูแลสุขภาพของตน
เองอย่าให้ยุงลายกัด บริโภคอาหารที่สุก สะอาด ปลอดภัย
มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันๆละ
30 นาที ขอความร่วมมือประชาชนทุกครอบครัว สถานที่ราชการ และสถานศึกษา
ทุกแห่งจะต้องทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน บริเวณบ้าน ทุก 7 วัน
กำจัดเศษวัสดุกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ที่สามารถขังน้ำได้
ขัดล้างภาชนะใส่น้ำทุก 7 วัน ปิดฝาภาชนะใส่น้ำดื่ม น้ำใช้ 2 ชั้น
ปล่อยปลากินลูกน้ำ และใส่ทรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำยุงลาย
หากบุตรหลานมีไข้สูง ซึม อ่อนเพลีย อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง
และมีผิวหนังแดง ให้ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวเพื่อลูกไข้
และรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
ฉะนั้นจะต้องให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเป็นการตัดไฟต้น
ลม "ไม่มีลูกน้ำ ไม่มียุงลาย ไม่มีโรคชิคุนกุนยา"
ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลมหาสารคาม อรณต วัฒนะ ข่าว / พิมพ์ 8
มิถุนายน 2552

มหาสารคามพ่นยากำจัดลูกน้ำยุงลายทั่ว ว.พยาบาลศรีมหาสารคามหลังต้องสงสัย2นศ.ติดเชื่อชิคุนกุนยา

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by ASTV ผู้จัดการออนไลน์
รายงาน ข่าวแจ้งว่า เทศบาลเมืองมหาสรคาม
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำ ยุงลายที่วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
หลังจากที่มีข่าว 2 นักศึกษาเฝ้าระวังป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา
หลังเดินทางมาจากภูมิลำเนาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อมาศึกษาต่อ
ซึ่งทางวิทยาลัยฯ ไดมีการซักถามประวัตย้อนหลัง คัดกรองผู้ป่วย
และตรวจร่างกายนักศึกษา
อีกทั้งยังให้เทศบาลเมืองมหาสารคามมาฉีดพ่นสารเคมีบริเวณโดยรอบวิทยาลัยฯ
อาคารเรียน ห้องเรียน หอประชุม ห้องทำงานครูอาจารย์ และหอพักนักศึกษา
เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
และป้องกันการแพร่ระดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้ 2
นักศึกษาได้ออกจากโรงพยาบาลกลับมาเรียนต่อได้แล้ว

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

"ชิคุนกุนยา" ระบาดถึงอีสานพบ นศ.พยาบาลต้องสงสัย 2 ราย

มหาสารคาม - พบผ้ป่วยต้องสงสัยเป็นโรคชิคุนกุนยาจำนวน 2 ราย
โดยเป็นนักศึกษาตามโครงการผลิตพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาแพทย์
พยาบาลขาดแคลนในพื้นที่ภาคใต้
หลังจากที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงปิดเทอม


ที่วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม นางนฤมล เอนกิทย์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กล่าวว่า
ในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมา นักศึกษาจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 135
คน ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา ซึ่งเป็นช่วงที่โรคชิกุนคุนยา
หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายกำลังระบาดในพื้นที่ภาคใต้

ขณะนี้ทางวิทยาลัยฯ ได้เปิดภาคเรียนแล้ว
นักศึกษาเดินทางกลับมาเรียน ซึ่งทางวิทยาลัยฯ มีมาตรการในการควบคุม
ป้องกันการระบาดของโรค โดยให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามประวัติย้อนหลัง
ซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการไข้

ล่าสุด นักศึกษา 2 คนที่กลับจากภูมิลำเนาในภาคใต้มีอาการไข้สูง
มีผื่นและปวดข้อ จึงได้นำส่งโรงพยาบาลมหาสารคามเพื่อดูอาการ
และเจาะเลือดส่งห้องแล็บเพื่อรอผลการปฏิบัติการทางการแพทย์ต่อไป

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชาวโกสุมพิสัยโอดถนนเละท้องถิ่นเมินซ่อม

มหาสาคาม - ชาวบ้านจาก 2 ตำบล ใน อ.โกสุมพิสัย เดือดร้อนหนัก
ถนนที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างหมู่บ้านเป็นหลุมเป็นบ่อตลอดสาย
วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือ

นายหนูเย็น เดยะดี ผู้ใหญ่บ้นหมู่ 12 บ้านยางหัช้าง ต.ยางน้อย
อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสรคาม ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ชาวบานจาก 2 ตำบล 19
หมู่บ้าน ได้รับความเือดร้อนอย่างมาก เนื่อจากสภาพของถนนเป็นหุมเป็นบ่อ
ซึ่งเมื่อก่อนถนนสายนี้เคยเป็นถนนของ รพช.
แต่ปัจจุบันได้โอนเป็นของหน่วยงานทางหลวงชนบทและผู้รับผิดชอบ คือ
องค์การบริหารส่วนจัหวัด ระยะทาง 8,277 กม. ถนนสายนี้ได้สร้างตั้งแต่
พ.ศ.2538 ถนนก็พังมาเรื่อยๆ ทางหน่วยงาน รพช.ก็ไม่มีงบประมาซ่อมแซม

ถนนสายนี้ถือเป็นถนนสายธุรกิจ ที่มีการสัญจรไปมาอยู่ตลอดเวลา
ชาวบ้านใ้ช้เป็นเส้นทางการเกษร ทั้งขนข้าวเปลือกไปขาย
อีกทั้งยังมีธุรกิจขายส่งพันธุ์ปลา แต่ถนนการสัญจรไม่เอื้อประโยชน์
ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อมากมาย ตลอดสายอย่างที่เห็นแบบนี้
หน้าฝนน้ำขังหน้าแล้งฝุ่นคลุ้ง

ทั้งนี้ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูแล
เพื่อให้ชาวบ้านที่สัญจรไปมาได้รับความสะดวก
ซึ่งที่ผ่านมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้ลงมาซ่อมแซม
แต่ผ่านไปได้ไม่นานถนนก็พังอีก ซึ่งชาวบ้านอยากให้ อบต.
ลงมาดูแลจัดหางบประมาณมาซ่อมแซมถนนให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

ด้าน นายโกศล คาดพันน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
กล่าวว่า เส้นทางถนนสายยางนุ้ย-บ้านห้วยม่วง อ.โกสุมพิัย จ.มหาสารคาม
สร้างมาตั้งแต พ.ศ.2538 ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ได้รับโอนจากทางหลวงชนบท ตามภาระกิจถ่ายโอนมาตั้งแต่ปี 2546
ซึ่งถนนสายดังกล่าวเคยถูกน้ำท่วมมาก่อน ส่ผลให้มีสภาพอย่างทีเห็น ซึ่งทาง
อบจ.ได้รับโอนถนนทั้งจังหวัดจำนน 84 สาย ระยะทางกว่า 700 กิโลมตร

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าทาง อบจ.มีงบประมาณจำกัด
แต่ในข้อบัญญัติงบปะมาณประจำปี 2552 ทาง
อบจ.ได้อนุมัติงบในการซ่อมแซมถนนสายดังกล่าวไว้แล้วจำนวน 1 ล้านบาท
ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านได้ส่วนหนึ่ง

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มหาสารคามเตือนประชาชนระวังโรคไข้เลือดออก

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
มหาสารคาม เตือนประชาชนระวังโรคไข้เลือดออก โรคพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม
เตือนประชาชนระวังโรคไข้เลือดออก
ที่มีสาเหตุมาจากยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดเด็กในเวลากลางวัน
และสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก มีน้ำขัง
เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่ดี แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม
กล่าวว่าปัจจุบันสภาพย่างเข้าสู่ฤดูฝน
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ปิดฝาภาชนะใส่น้ำดื่ม น้ำใช้
ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่ดี
จังหวัดมหาสารคามพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 29 ราย ผู้ป่วย 3 ลำดับแรก
ได้แก่ อำเภอเมืองจำนวน 14 ราย อำเภอพยัคฆภูมิพิสัยจำนวน 6 ราย
เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนจะต้องปิดฝาภาชนะใส่น้ำ 2 ชั้น
ขัดล้างภาชนะใส่น้ำทุก 7 วัน จัดสภาพแวดล้อมบ้านเรือนให้สะอาด เรียบร้อย
เป็นระเบียบ ทำลายขยะและเศษวัสดุที่สามารถขังน้ำได้โดยการ เผา ฝัง
ปล่อยปลากินลูกน้ำ ใส่ทรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำยุงลาย
กางมุ้งให้เด็กตัวเล็ก ไม่ให้เด็กเล่นในที่มืด
ในขณะเด็กดูทีวีจะต้องจุดยากันยุง เปิดพัดลมให้
อาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึม หน้าแดง
ตัวแดง ปวดท้อง หากมีอาการดังกล่าวจะต้องรีบพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม ขอความร่วมมือประชาชนทุกครอบครัว
สถานที่ราชการ และสถานศึกษาทุกแห่ง จะต้องทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน
บริเวณบ้าน ทุก 7 วัน กำจัดเศษวัสดุ กระป๋อง กะลา
ยางรถยนต์ที่สามารถขังน้ำได้ ขัดล้างภาชนะใส่น้ำทุก 7 วัน
ปิดฝาภาชนะใส่น้ำดื่ม น้ำใช้ 2 ชั้น ปล่อยปลากินลูกน้ำ
และใส่ทรายอะเบทเพื่อฆ่าลูกน้ำยุงลาย ใช้หลักการ 4 ป คือ
ปิดฝาภาชนะใส่น้ำ 2 ชั้น ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด
เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หากบุตรหลานมีไข้สูง ซึม อ่อนเพลีย อาเจียน
เบื่ออาหาร หน้าแดง และมีผิวหนังแดง ให้ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวเพื่อลูกไข้
และรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
ปัจจุบันเด็กและผู้ใหญ่สามารถป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้
ฉะนั้นจะต้องให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเป็นการตัดไฟต้น
ลม "ไม่มีลูกน้ำ ไม่มียุงลาย ไม่มีไข้เลือดออก"
ด้วยความปรารถนาดีโรงพยาบาลมหาสารคาม อรณต วัฒนะ ข่าว / พิมพ์ 2 มิถุนายน
2552

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สาธารณสุขมหาสารคามเตือนระวังโรคพิษสุนัขบ้า

from MOPH-ข่าวภูมิภาค by สำนักสารนิเทศ
สาธารณ สุขมหาสารคามเตือนระวังโรคพิษสุนัขบ้า โรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม
เตือนประชาชนระวังโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูร้อน
ส่วนใหญ่เกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ชิดกับคนและเลี้ยงไว้ในครอบครัว เช่น แมว
สุนัข เป็นต้น แพทย์หญิงเสาวลักษณ์ นาคะพงษ์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามกล่าวว่าย่างเข้าฤดูร้อนของทุกปี
โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่จะต้องระวังอีกโรคหนึ่งคือโรคพิษสุนัขบ้า
เกิดจากเชื้อไวรัส
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันล่วงหน้าคือนำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรค
พิษสุนัขบ้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สัตว์เลี้ยงอายุตั้งแต่ 3
เดือนจะต้องได้ฉีดวัคซีนเข็มแรก อาการของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
น้ำลายไหล ซึม เบื่ออาหาร คอแข็ง วิ่งพล่าน โมโหร้าย วิ่งกัดคนไม่เลือก
ห้ามพบเห็นไม่ควรเข้าใกล้ และแจ้งที่เจ้าหน้าที่เทศบาลในพื้นที่นั้นๆ
เพื่อกำจัดสัตว์ที่มีอาการโรคพิษสุนัขบ้า
เมื่อคนโดนสุนัขกัดจะต้องล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หลายๆครั้ง
ไม่ควรบีบเลือดออกจากแผล เมื่อล้างแผลให้สะอาด เช็ดแผลให้แห้ง
แล้วใส่ยาแผลสด กักขังสุนัขไว้ในกรง ให้น้ำให้อาหารตามปกติ ภายในวัน 10
วันสุนัขไม่มีอาการใดๆ แข็งแรง และกินอาหารได้ตามปกติ
ก็มั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
หากสุนัขตายจะต้องรีบแจ้งให้ปศุสัตว์จังหวัดตรวจสอบสวนโรคทันที่
และรีบนำคนที่ถูกสุนัขกัดพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัดมหาสารคามขอความร่วมมือประชาชนที่มีสุนัข
แมวไว้ในครอบครอง จะต้องนำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี
บอกลูกหลานอยากเล่นกับสุนัขจอนจัด ไม่มีเจ้าของ
ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงเลียมือ ปาก หน้า
และจะต้องล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสหรือเล่นกับสุนัข แมว
ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหยิบอาหารเข้าปากทุกครั้ง
หากสุนัขและแมวที่เลี้ยง
ไว้มีอาการผิดปกติจะต้องรีบพาไปตรวจกับปศุสัตว์จังหวัด
ลูกหลานท่านจะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า " รักลูกหลาน รักสัตว์เลี้ยง
ต้องพาสัตว์ไปฉีดวัคซีนทุกปี" ปัจจุบันไม่มียารักษาโรคพิษสุนัขบ้า
อย่านิ่งนอนใจเมื่อสุนัขกัดจะต้องพบแพทย์ทันที่ อรณต วัฒนะ ข่าว / พิมพ์
31 พฤษภาคม 2552